หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3   การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน

วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 2 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้
ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
             3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง
             3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 
             3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก
             3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
องค์ประกอบของการสื่อสารในการเรียนการสอน
1. ผู้ส่งสารในการเรียนการสอน
2. เนื้อหาความรู้ ที่ส่งให้แก่ผู้เรียน
3. สื่อหรือช่องทางที่ใช้ส่งเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียน
4. ผู้รับสารในการเรียนการสอน
 5. ผลที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน
6. ปฏิกิริยาตอบสนองกลับของผู้เรียน
บทบาทและคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา มีหลายลักษณะคือ
1.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา
2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เทคโนโลยีสามารถทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ
3.การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
4.บทบาทของอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา อินเทอร์เน็ตเป็น "เครือข่ายแห่งเครือข่าย" (Network of Networks) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่างเสรี โดยไม่มีการปิดกั้น การเผยแพร่และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทำให้บุคคลสามารถเผยแพร่ข้อมูลของตนเองต่อโลกได้ง่าย พอกับการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ระบบทะเบียนที่อยู่ (Uniform Resource Locator-URL) และผ่านตัวสืบค้น (Search Engines) ต่าง ๆ
ความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพื่อการศึกษา
      ความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการศึกษา มีปัจจัยหลายประการ คือ
      1) ขาดความเข้าใจและความสมเหตุสมผลในการ
      2) ขาดความรู้ในการใช้งาน
      3) ขาดการบำรุงรักษา
      4) ขาดการพัฒนารูปแบบการใช้งานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
      5) ขาดการยอมรับจากผู้บริหารหรือผู้ร่วมงาน
ประเภทต่างๆของการสื่อสารนั้น ควรพิจารณาถึงคุณสมบัติต่างๆดังต่อไปนี้ (Brown, 2001)
1. จำนวนของการสื่อสาร 
2. ความใกล้ชิด ของการสื่อสาร
3. ความใกล้ชิดของการแลกเปลี่ยนข้อมูล
4. ช่องทางที่รับสาร 
5. บริบทของการสื่อสาร 
ประเภทของการสื่อสารแบ่งตามระดับของการสื่อสาร โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
     1. การสื่อสารในตนเอง (Intrapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมาย
 ถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ได้แก่
   1) การตระหนักรู้ตนเอง
   2) การรับรู้(perception)
     3) ความคาดหวัง
   2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้าระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เป็นการสื่อสารที่กระทำอย่างทันทีทันใด (immediacy) และกระทำ ณ สถานที่เดียวกัน (primacy) ทำให้เห็นปฏิกิริยาโต้ตอบ (feedback) ได้ง่าย การสื่อสารระหว่างบุคคลนั้นสามารถจำแนกประเภทได้อีกตามจำนวนของผู้ที่มีส่วนร่วมในการสื่อสารได้แก่
1) การสื่อสารระหว่างบุคคลสองคน
2) การสื่อสารแบบกลุ่ม
3) การสื่อสารสาธารณะ
4) การสื่อสารองค์กร
5) การสื่อสารครอบครัว
 3. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารที่บุคคลส่งข้อมูลโดยอาศัยสื่อมวลชนไปยังผู้รับสารจำนวนมากพร้อมๆกัน การสื่อสารมวลชนประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ ได้แก่
1. ใช้วิธีการทางเทคโนโลยีและเป็นระบบในการผลิต (production) และเผยแพร่ (distribution)
2. การสื่อสารมวลชนจัดว่าเป็นสินค้าเชิงสัญลักษณ์ (symbolic goods) ซึ่งขณะนี้ระบบของการแปลงสัญลักษณ์ให้เป็นสินค้าได้ (commodification) ได้มีการปรับเปลี่ยนจากระบบแอนะล็อกเป็นดิจิตัล ทำให้การสื่อสารระหว่างบุคคลต่างๆมีความก้าวหน้ามากขึ้น
3. การผลิต (production) และการรับ (reception) ข้อมูลอยู่ในบริบทที่แยกจากกัน
4. ผู้ผลิตสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้ที่อยู่ห่างไกลด้วยเวลา (time) และสถานที่ (space) ได้
5. การสื่อสารมวลชนเกี่ยวข้องกับ การเผยแพร่ข้อมูลซึ่งเป็นรูปแบบการสื่อสารแบบส่งจากผู้หนึ่งไปยังคนจำนวนมาก (one to many) ซึ่งหมายความว่าสินค้าจะถูกผลิตจำนวนมาก เพื่อส่ง   ไปยังผู้ชม/ผู้ฟังที่มีปริมาณมากเช่นเดียวกัน
ประเภทของการสื่อสารตามทิศทางของการสื่อสาร      ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1. การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้
 รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
2. การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
ปัญหาของการสื่อความหมาย        
    การสื่อความหมายจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อผู้รับสามารถเข้าใจตรงกับที่ผู้ส่งต้องการ (ผลที่ได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย) แต่ในกระบวนการสื่อความหมายนั้นจะต้องมีอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ และอุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ผลของการสื่อความหมายผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่ผู้ส่งต้องการ
 1 ปัญหาทางด้านผู้ส่ง
 2. ปัญหาทางด้านผู้รับ
 3. ปัญหาทางด้าน
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
    1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร  
    2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
   3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ
องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
   1.  ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร
   2.  สาร (message) หมายถึง  เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ   ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้
     3.  สื่อ หรือช่องทาง (media or channel)  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร  ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร   ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร   
    4.  ผู้รับสาร (receiver)  หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร  หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร   เช่น   ผู้เข้าร่วมประชุม   ผู้ฟังรายการวิทยุ   กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย  ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์  เป็นต้น
หลักในการสื่อสาร
การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้ 
   1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้
    2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
    3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่งการอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
     4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
    5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์
   6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร
     7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
     1.  เพื่อแจ้งให้ทราบ
      2.  เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
     3.  เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
     4.  เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
    5.  เพื่อเรียนรู้
   6.  เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ
ความสำคัญของทักษะในการสื่อสาร
เมื่ออยู่ในกระบวนการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นส่งสารหรือผู้รับสาร เราจะต้องรับผิดชอบต่อการสื่อสารนั้น เมื่อเป็นผู้ส่งต้องจัดข่าวสารให้ง่ายต่อการรับและการเข้าใจ เมื่อเป็นผู้รับต้องตั้งใจรับสารและตั้งคำถามหรือทวนความเข้าใจเพื่อให้มั่นใจว่าเราเข้าใจถูกต้อง
    การสื่อสารทางเดียวใช้เวลาน้อยกว่าการสื่อสารสองทาง และมีกระบวนการที่เป็นลำดับดีกว่า เหมาะที่จะใช้ในการส่งสารแก่คนกลุ่มใหญ่หรือต่อสาธารณะ
     การสื่อสารสองทางมีความถูกต้องแน่นอนกว่า เพราะผู้รับและผู้ส่งสารมีโอกาสได้ทวนความเข้าใจ ซักถามและมีการอธิบายเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา   
จุดประสงค์ของการสื่อสาร
1.การสื่อสารเพื่อจูงใจ (Influence)
2. การสื่อสารเพื่อให้ข้อสนเทศ (Inform)
3.การสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึก (Express feelings)
กระบวนการสื่อสาร
การสื่อสารต้องเริ่มด้วยผู้ส่งสาร กำหนดลักษณะของข่าวสารและส่งข่าวสารนั้นไปยังผู้รับสารซึ่งจะเป็นผู้ทำความเข้าใจข่าวสารนั้น การสื่อสารจึงประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ
ผู้ส่งสาร (Sender) เป็นบุคคลที่เริ่มต้นในการสื่อสาร
การส่งสาร (Message Transmission) ข่าวสารอาจส่งออกไปได้ 3 ลักษณะ คือ
-ส่งเป็นคำพูด
-ส่งเป็นข้อเขียน
-ส่งเป็นภาษาท่าทาง/ภาษากาย
    3.ผู้รับสาร (Receiver) เป็นผู้ที่รับข่าวสารและทำความเข้าใจในสารที่ส่งมาให้ถูกต้อง เป็นผู้แปลความให้ได้ว่าผู้ส่งต้องการสื่อสารอะไร
รูปแบบการเรียนการสอน (Learning methods)    หมายถึงรูปแบบหรือชนิดของการปฏิสัมพันธ์( Interaction) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะหลักๆคือ
      1. รูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะซิงโครนัส (Synchronous Learning methods) หมายถึงการนำเสนอองค์ความรู้ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน
      2.   การนำเสนอในลักษณะอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning methods) การนำเสนอในลักษณะนี้ คู่ปฏิสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกัน
การสอนแบบผสมผสาน (Integrated) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
 1)  สื่อ
2)  กระบวนการเรียนการสอน
3)  ระบบการวัดผล
ระบบการเรียนการสอน  มีองค์ประกอบดังนี้
 1. ตัวป้อน ได้แก่  ครู หรือผู้สอน  ผู้เรียน  หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
 2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน 
 3. ผลผลิต  ได้แก่  ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย  จิตพิสัย และทักษะพิสัย
จุดประสงค์การเรียนการสอน    แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ
    1.  จุดประสงค์ทั่วไป  เป็นจุดประสงค์ที่มีความหมายกว้างไม่เฉพาะเจาะจง และเป็นจุดประสงค์ที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้ง   
    2.  จุดประสงค์เฉพาะ  เป็นจุดประสงค์ที่มีความเฉพาะเจาะจง และเป็นจุดที่ตั้งขึ้น  
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
     จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม  คือ  จุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่บอกให้ทราบว่า หลังจากจบบทเรียนนั้น ๆ แล้ว  ผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่วัดได้  สังเกตได้ ออกมาอย่างไรบ้าง
หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
      1.   เขียนสั้น ๆ ให้ได้ใจความ ควรมีความยาวหนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น
      2.   ระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดเพียงหนึ่งพฤติกรรม
      3.   ระบุพฤติกรรมปลายทางที่คาดว่าจะเกิด
      4.   เป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นเป็นรูปธรรม ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรม
วิธีสอนแบบต่าง ๆ
    การเรียนการสอนต้องขึ้นกับองค์ประกอบหลายประการดังนั้น  จึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องตัดสินใจเลือกวิธีสอน ตามความเหมาะสมของสภาพที่เป็นอยู่ ควรนำเทคนิคต่างๆมากระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลาที่กำหนดให้ 
การเลือกวิธีสอน 
-    สอดคล้องกับจุดประสงค์ของบทเรียน  
 -    สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ
 -    เหมาะสมกับเวลา สถานที่  และจำนวนผู้เรียน
ประเภทของวิธีสอน
   1.  วิธีสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher – Centered Method
   2.  วิธีสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child - centered  Method) 
เทคโนโลยีการสื่อสารและการสื่อสารโทรคมนาคม
    ด้วยการพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสารโทรคมนาคมทำให้ปัจจุบันก้าวไปสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือเรียกอย่างย่อว่า ยุคไอซีทีจึงทำให้การสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญยิ่งในเทคโนโลยีการศึกษาเนื่องจากความเอื้อประโยชน์หลายประการ ตัวอย่างเช่น
1. การเปลี่ยนการสอนของครุผู้สอน
2. การเปลี่ยนวิธีการเรียนของผู้เรียน
3. การเรียนอย่างกระตือรือร้น
4. วิธีการส่งบทเรียน
5. เปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน
6. เป็นแหล่งข้อมูลอันกวางขวาง
7. สะดวกในการบริหารจัดการ
การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
      เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น
ประโยชน์
1.  ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2.  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.  สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4.   ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5.  ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6.  ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
      การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มาจากแนวคิดหลัก 5 แนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการศึกษา ได้แก่
1.  แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ (Contructivism)
2.  แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Cooperative Learning)
3.  แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ (Learning Readiness)
4.   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning)
5.    แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
 ประโยชน์
1.  ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้
2.  ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จะนำไปใช้ได้ในการดำเนินชีวิต
3.   ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม
 วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method)
     เป็นวีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้วีการสอนโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน
ประโยชน์
1.  เป็นการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ปฏิบัติ
จริงคิดเอง ทำเอง อย่างละเอียดรอบคอบ อย่างเป็นระบบ
2.  ผู้เรียนรู้จักวีแสวงหาข้อมูล สร้างองค์ความรู้และสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง
3.  ผู้เรียนมีทักษะในการแก้ปัญหา มีทักษะกระบวนการในการทำงาน มีทักษะการเคลื่อนไหวทางกาย
4.   ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้
5.   ฝึกความเป็นประชาธิปไตย คือการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีเหตุผล มีการยอมรับในความรู้ ความสามารถซึ่งกันและกัน
6.    ผู้เรียนได้ฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการทำงาน เช่น การจดบันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ความรับผิดชอบ ความซื่อตรง ความเอาใจใส่ ความขยันหมั่นเพียรในการทำงาน รู้จักทำงานอย่างเป็นระบบ ทำงานอย่างมีแผน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
7.    ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ ความคิด หรือแนวทางที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิต หรือในสถานการณ์อื่น ๆ ได้

การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
      เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา
ประโยชน์
    มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน

การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
     เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนค้นหาคำตอบ หรือความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนจะเป็นผู้สร้างสถานการณ์ในลักษณะที่ผู้เรียนจะเผชิญกับปัญหา ซึ่งในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะใช้กระบวนการที่ตรงกับธรรมชาติของวิชาหรือปัญหานั้น เช่นผู้เรียนจะศึกษาปัญหาทางชีววิทยา ก็จะใช้วิธีเดียวกันกับนักชีววิทยาศึกษา หรือผุ้เรียนจะศึกษาปัญหาประวัติศาสตร์ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ศึกษา ดังนั้น จึงเป็นวิธีจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ เหมาะสำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ แต่ก็สามารถใช้กับวิธีอื่น ๆ ได้ ในการแก้ปัญหานั้น ผู้เรียนจะต้องนำข้อมูลทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเพื่อให้ได้ข้อค้นพบใหม่หรือเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น
ประโยชน์
1. ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล
2.  ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบสิ่งที่ค้นพบได้นานและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3.  ผู้เรียนมีความมั่นใจ  เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างเข้าใจจริง
4.   ช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านความคิด
5.   ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน  ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง
6.   ก่อให้เกิดแรงจูงใจ  ความพึงพอใจในตนเองต่อการเรียนสูง
7.   ผู้เรียนรู้วิธีสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เช่น  การหาข้อมูล  การวิเคราะห์และสรุปข้อความรู้
8.    เหมาะสมกับผู้เรียนที่ฉลาด  มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีแรงจูงใจสูง

 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
     กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน  จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี  หลักการ  หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด
ประโยชน์
1.  เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย  รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3.   ฝึกให้ผู้เรียนรู้ได้นำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4.   ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษาและคณิตศาสตร์
5.    ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
      กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อย  หรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่  หรือกฎเกณฑ์  หลักการ  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป  โดยการนำเอาตัวอย่างข้อมูล  เหตุการณ์  สถานการณ์หรือปรากฏการณ์  ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษา  สังเกต  ทดลอง  เปรียบเทียบหรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการหรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง
ประโยชน์
1.  เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ด้วยตนเอง  ทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้นาน
2. เป็นวิธีการที่ฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการสังเกต  คิดวิเคราะห์  เปรียบเทียบ  ตามหลักตรรกศาสตร์และหลักวิทยาศาสตร์  สรุปด้วยตนเองอย่างมีเหตุผลอันจะเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้  ซึ่งใช้ได้ดีกับการวิชาวิทยาศาสตร์
3. เป็นวิธีการที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้  และกระบวนการซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
      การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา  โดยการจัดสถานการณ์  หรือปัญหา  หรือเกมส์ที่น่าสนใจ  ท้าทายให้อยากคิดอาจเริ่มด้วยปัญหาที่ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาแล้วมาประยุกต์ก่อน  ต่อจากนั้นจึงเพิ่มสถานการณ์หรือปัญหาที่แตกต่างจากที่เคยพบมา
ประโยชน์
    เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระบวนการและพัฒนาทักษะ  เน้นฝึกวิเคราะห์แนวคิดอย่างหลากหลาย

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
        เป็นการจัดสถานการณ์หรือปัญหาที่น่าสนใจให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ  ผู้สอนจะใช้คำถามกระตุ้น  ด้วยคำว่า  ทำไม  อย่างไร  เพราะเหตุใด  เป็นต้น พร้อมทั้งให้ข้อคิดเพิ่มเติม  เช่น ถ้า......แล้ว  ผู้เรียนคิดว่า  จะเป็นอย่างไร”  เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์ต้องไม่ตัดสินว่าไม่ถูกต้อง  แต่ใช้คำพูดเสริมแรงให้กำลังใจ  เช่น คำตอบที่นักเรียนให้มีบางส่วนถูกต้อง  นักเรียนคนใดจะอธิบายหรือให้เหตุผลเพิ่มเติมของเพื่อนได้อีกบ้าง”  เพื่อให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ร่วมกันมากขึ้น
ประโยชน์
       การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถคิดอย่างมีเหตุผลและรู้จักให้เหตุผลและร่วมกันหาคำตอบ

การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
      เป็นการฝึกทักษะให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ปัญหา  สามารถเขียนปัญหาในรูปแบบของตาราง   กราฟหรือข้อความ  เพื่อสื่อสารความสัมพันธ์ของจำนวนเหล่านั้น
ประโยชน์
     การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ

การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
      เป็นการสังเกต  และบันทึกปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ  หรือทำการสำรวจตรวจสอบ  โดยที่ไม่สามารถควบคุมตัวแปรได้  แล้วคิดหารูปแบบจากข้อมูลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประโยชน์
     การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking) เพื่อฝึกนักเรียนให้สามารถสร้างรูปแบบ  และสร้างความรู้ได้

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
     เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น  สืบเสาะ  สำรวจ  ตรวจสอบ  และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ  จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย
ประโยชน์
     กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหา  หลักและหลักการ  ทฤษฎี  ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้
วิธีสอนแบบขั้นทั้ง  4   ของอริยสัจสี่
 1.   ขั้นกำหนดปัญหา……… (ขั้นทุกข์)
-    ศึกษาปัญหา
 -    กำหนดขอบเขตของปัญหาที่จะแก้
2.   ขั้นตั้งสมมุติฐาน……….. (สมุทัย)
-    พิจารณาสาเหตุของปัญหา
-    จะต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุ
-    พยายามทำอะไรหลาย ๆ อย่างเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงสาเหตุ
3.   ขั้นการทดลองและเก็บข้อมูล….(นิโรธ)
-    ทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ
-    ทดลองได้ผลประการใด บันทึกข้อมูลไว้
4.   ขั้นสรุปข้อมูลและสรุปผล……. (มรรค)
-    วิเคราะห์เปรียบเทียบ
-    สรุปผลและแนวทางเพื่อปฏิบัติ
การจะสอนให้ดีนั้นต้อง
1.  มีจิตใจพร้อมที่จะสอน
1.1   ต้องรู้ว่าการสอนเป็นกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ที่สุดอย่างหนึ่งเพราะช่วยย่นระยะเวลาการศึกษาของผู้เรียนได้อย่างมาก  
1.2   มีจิตเมตตาผู้เรียน อยากให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ ได้ความรู้
1.3
  มีความใจเย็นในการสอน  
 2.  มีความรู้ในเรื่องที่สอน
 3.  เรียงลำดับเรื่องที่จะพูดให้ดี
 4.  มีเทคนิคการสอน
ศิลปะการสอน
     ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึง ความรู้และความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราบรื่นและมีความสุข
บริบททางการสอน
     บริบททางการสอน (Teaching Context) หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสัมพันธ์ / มีอิทธิพลต่อการสอน ทั้งในระดับจุลภาพ (micro) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้ตัวผู้เรียนผู้สอนมากที่สุด ไปจนถึงระดับมหภาค (macro) ซึ่งเป็นระดับที่ไกลตัวผู้เรียนมากที่สุด
ปรัชญาการศึกษา
     ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึง ความคิดหรือระบบของความคิดที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความเชื่อนั้นๆ
ทฤษฎีการเรียนรู้
      ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ
หลักการเรียนรู้
     หลักการเรียนรู้ (Learning Principle) หมายถึง ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ หลักการเรียนรู้หลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้
ทฤษฎีการสอน
      ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instructional Theory) คือ ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆ หลายหลักการ
หลักการสอน
     หลักการสอน (Teaching / Instructional Principle) คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้
แนวคิดเรื่องการการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
     การสอนภาษาต่างประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่ามีวิธีการสอนที่แตกต่างหลากหลายตามหลักแนวคิดพื้นฐานและวิธีการสอนภาษาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ที่นักภาษาศาสตร์ประยุกต์คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการสอนหรือเพื่อปรับปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Widdowson (1978) อ้างใน Larsen-Freeman (2000:121) ได้กล่าวไว้ว่าในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงโดยการนำแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารมาใช้นั้นมีเหตุผลมาจากการที่ผู้เรียนสามารถผลิตประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดีแต่ก็ยังไม่สามารถที่จะนำความรู้ทางตัวภาษาที่ได้เรียนนั้นไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสมถูกต้องตามปริบท
Wilkins (1976) ได้เสนอแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารไว้ว่าเป็นการให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารตั้งแต่เริ่มต้นแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยในเรื่องความสำคัญทางไวยากรณ์และสถานการณ์ในการใช้ภาษา การสอนภาษาตามแนวทางการสอนเพื่อการสื่อสารจะมีข้อดีกว่าแนวคิดการสอนที่เน้นไวยากรณ์คือ มีการฝึกฝนภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร และเมื่อผู้เรียนได้มีการฝึกฝนการใช้ภาษาได้ในสถานการณ์จริงแล้ว ยังช่วยให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้เรียนอีกด้วยการสร้างความสามารถในการสื่อสาร ซึ่งเป็นเป้าหมายของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนี้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามแนวคิดของ Savignon
1) ความสามารถด้านกฎเกณฑ์และโครงสร้างของภาษา (Linguistic or Grammatical competence)
2) ความสามารถด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม (Sociolinguistic competence
3) ความสามารถด้านความเข้าใจในระดับข้อความ (Discouse competence)
4) ความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย (Pragmatic or Strategic competence)
     สรุปได้ว่าการสอนภาษาตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารนั้นเน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้องอีกด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนแนวนี้จะต้องเน้นการทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนการใช้ภาษาให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
   พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ตาม พ...การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้นทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้ มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน
ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน  เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย (GOALS)
การทดสอบก่อนการเรียน  (Pre Test)
ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities)
การทดสอบหลังการเรียน  (Post Test)
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
     เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนศักยะภายและสมรรถนะการทำงานในทุกวงการเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในในการศึกษาจะเรียกว่าเทคโนโลยีการศึกษาโดยเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษาทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
     นอกจากนี้ การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนด้วยลักษณะต่างๆของการสื่อสารผู้สอนสามารถนำการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ ทำให้สรุปได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีและการสื่อสารมาใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ในการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล หรือในทางกลับกันอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยการศึกษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
ระยะทางของการสื่อสารในการเรียนการสอน...
      ลักษณะการสื่อสารที่มีรูปแบบ วิธีการ ประเภท และระยะทางของการสื่อสารแตกต่างกัน ทำให้การเรียนการสอนและการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบปกติและการศึกษาทางไกลต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย เพื่อสามารถเลือกใช้สื่อและวิธีการให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนการสอน
การสื่อสารในห้องเรียน
     ลักษณะการสื่อสารในห้องเรียนส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารระยะใกล้แบบการสื่อสารสองทางโดยผู้สอนใช้เนื้อหาการสอนประกอบทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น ใช้ภาพนำเข้าสู่บทเรียน การใช้วีซีดี เป็นต้น ปัจจุบันการเรียนการสอนในห้องเรียนมีเพิ่มขึ้นอีก 2 รูปแบบ นอกเหนือจากการสื่อสารสองทางและการสื่อสารระยะใกล้ที่ใช้กันมาแต่เดิม ได้แก่
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารทางเดียว
- การสื่อสารระยะไกลแบบการสื่อสารสองทาง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น