การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกม
โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ได้กล่าวว่าทุกคนมีความสามารถที่หลากหลาย (Multiple intelligences) ใน 8 ด้าน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถเรียนรู้ได้ตามความแตกต่างของบุคคลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมให้มีประสิทธิภาพ
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
1. การเลือกและนำเสนอเกม
2. การชี้แจงวิธีการเล่นและกติกาการเล่น
3. การเล่นเกม
4. การอภิปรายหลังการเล่น
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เกมมีประโยชน์ช่วยให้นิสิต นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
และเป็นการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียนไปโดยที่ผู้เรียนไม่รู้ตัว
รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการทำงานและอยู่ร่วมกัน
การเตรียมบทบาทของผู้สอน
1. ก่อนการใช้กิจกรรมเกม
1.1 ผู้สอนเตรียมเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
1.2 ผู้สอนศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเล่นเกม
1.3 ผู้สอนเตรียมอุปกรณ์ต่าง
ๆ เท่ากับจำนวนนักศึกษา
2. ระหว่างการเล่น
2.1 ผู้สอนแจกเอกสารความรู้และเกม
2.2 ผู้สอนอธิบายกติกา
และวิธีเล่นแก่ผู้เรียน
2.3 ให้กลุ่มผู้เรียนเล่นเกมในเวลาที่กำหนด
3. หลังการใช้กิจกรรมเกม
3.1 ผู้สอนและนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
3.2 ผู้สอนประเมินตนเองในการใช้เทคนิคเกม
การเตรียมบทบาทของผู้เรียน
1. ผู้สอนแบ่งกลุ่มของผู้เรียนให้สอดคล้องกับเกม
2. ผู้เรียนศึกษาเอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียน
3. ผู้เรียนศึกษากติกาและวิธีการเล่นเกม
4. ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเนื้อหาความรู้ที่ได้จากการเล่นเกม
บรรยากาศการเรียนการสอน
1. สถานที่ที่ใช้เล่นเกม
ควรเป็นห้องที่สามารถจัดนักศึกษานั่งเป็นกลุ่มได้
2. การเรียนเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ นิสิต
นักศึกษาศึกษาเอกสารความรู้และเล่นเกม
3. ในขณะเล่นเกมเพื่อเป็นการผ่อนคลาย
อาจเปิดเพลงเบา ๆ ได้
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สอน
(ใบงาน)
2. อุปกรณ์เกี่ยวกับเกม
กติกา และวิธีเล่น
จึงกล่าวได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม
เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ และจูงใจผู้เรียนให้สนใจเรียนรู้เพิ่มขึ้น
เกมอาจจำแนกเป็นเกมที่มีวัสดุประกอบ เช่น
เกมไพ่ เกมบิงโก เกมอักษรไขว้
เกมกระดานต่าง ๆ เป็นต้น และเกมที่ไม่มีวัสดุประกอบ เช่น เกมทายปัญหา
เกมใบ้คำ เกมสถานการณ์จำลอง
เป็นต้น ผู้สอนจึงควรเลือกเกมมาใช้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอน
จุดประสงค์และวัยของผู้เรียน
ข้อดีของวิธีสอนโดยใช้เกม
1. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูง ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
3. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอน
และผู้เรียนชอบ
ข้อจำกัดของวิธีการสอนโดยใช้เกม
1. เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก
2. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเกม
3. เป็นวิธีสอนที่ต้องอาศัยการเตรียมการมาก
4. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนต้องมีทักษะในการนำอภิปรายที่มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนประมวลและสรุปการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์
คุณค่าของเกมที่มีต่อการเรียนการสอน
1. เกมเป็นสื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง
สามารถช่วยให้ผู้เล่นประสบผลสัมฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา
และจริยศึกษา
แม้ว่าเกมจะไม่ดีไปกว่าการสอนแบบตั้งเดิมเมื่อใช้สอนเนื้อหาพื้นฐานก็จริง
แต่สำหรับความสามารถด้านการวิเคราะห์
การสังเคราะห์และการประเมินค่าแล้วเกมจะช่วยได้มาก
2. เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
3. เกมส่วนใหญ่ส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ
การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับผู้อื่นและเจตคติทางด้านความกระตือรือร้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น
นอกจากนั้นเกมจะช่วยให้ผู้เล่นรู้จักแก้ปัญหาหลาย ๆ แนวทาง
หลายคนเชื่อมั่นในการใช้เกมจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาเกือบทั้งหมด
4. ข้อได้เปรียบสูงสุดของเกมยิ่งกว่าวิธีสอนอื่นใดคือความสนุก
ทำให้นักเรียนได้เข้ามามีส่วนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดีนัก
และเชื่อว่าถ้ามีการแข่งขันด้วยนักเรียนจะยิ่งทุ่มเทจิตใจในการเล่นมากยิ่งขึ้น
5. เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย
ๆ ด้านซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จัดบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ
ด้านเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
เทคนิคการอธิบายและการสาธิต
การอธิบายและการสาธิตเป็นวิธีการสอนที่จะให้ผู้เล่นได้มีความรู้
ความเข้าใจในสิ่งที่เล่นเพื่อจะได้นำไปเป็นแนวทางในการที่จะฝึกหัดและเล่นต่อไป
เพื่อจะได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นและสอดคล้องกับแนวการสอนแบบใหม่ ครูหรือผู้นำควรใช้หลักที่สำคัญเพื่อเป็นแนวทางดังต่อไปนี้ คือ
ผู้นำบอกชื่อเกมให้ผู้เล่นและจัดให้ผู้เล่นจัดรูปแถวในการเล่น
อธิบายวิชาการเล่นสั้น ๆ
เข้าใจง่ายจนผู้เล่นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
3.
อธิบายกฎกติกาการเล่นการฟาวล์ การแพ้ชนะกัน
4. ผู้นำทดสอบความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง โดยให้ผู้เล่นถามหรือผู้นำถามเองก็ได้แล้วสาธิตหรือให้ผู้เล่นทดลองอย่างช้า
ๆ จนทุกคนเข้าใจ
5.
ก่อนเล่นผู้นำต้องย้ำความปลอดภัยให้ผู้เล่นทราบทุกครั้ง
เทคนิคการเล่นเพื่อความสนุกสนานหรือการแข่งขันกัน
เมื่อทุกคนเข้าใจใน กฎ กติกาและขั้นตอนการเล่นอย่างชัดเจนแล้วครูหรือผู้นำก็ลงมือให้เล่นทันทีโดยไม่ชักช้าเพราะเวลามีค่าต่อผู้เล่นมาก
ผู้เล่นได้นำความรู้ความเข้าใจ ข้อบังคับของการเล่นมาปฏิบัติในสภารพการณ์ของการเล่นจริง
ครูหรือผู้นำมีโอกาสที่จะปลูกฝังคุณธรรม ระเบียบวินัย การเป็นผู้เล่น การรวมหมู่ ความสามัคคี การรู้จักแพ้ชนะ การอภัย ตลอดจนพฤติกรรมอื่น ๆ ในตัวผู้เล่นได้เป็นอย่างดี ครูผู้นำได้รู้จักนิสัยใจคอของผู้เล่นอย่างแท้จริงว่าผู้เล่นคนไหนมีพฤติกรรมที่พึงปรารถนาหรือควรจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
สำคัญอยู่ที่ครูหรือผู้นำจะสามารถฉวยโอกาสนี้เพื่อนำมาใช้ให้มีประโยชน์และมีความหมายต่อผู้เล่นมากน้อยแค่ไหน
โดยนำหลักการและเทคนิคการจัดการแข่งขันหรือการเล่นมาปฏิบัติดังนี้
1. จำนวนผู้เล่นในแต่ละหมู่ให้มีจำนวนเท่า
ๆ กัน
2. ผู้เล่นที่มีส่วนเกินก็จัดให้มีส่วนร่วมโดยการเป็นกรรมการช่วยครูในการตัดสิน
3. จัดให้มีหัวหน้าหมู่
สีประจำในแต่ละหมู่ หรือสี
4. เส้นเริ่ม
เส้นกลับตัว หรือเส้นชัดควรเขียนให้ชัดเจนไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง
5. การตัดสินควรจะเป็นไปอย่างยุติธรรม
6. ให้ผู้เล่นได้ปฏิบัติตามกติกาและระเบียบการเล่น
7. ถ้าหมู่ใดคนใดชนะ ให้หมู่คนอื่น
ๆ ปรบมือให้เกียรติ และหมู่ชนะควรจะได้แสดงความขอบคุณโดยการคำนับ
โค้งให้เกียรติเพื่อเป็นการปลูกฝังการแพ้ชนะในตัวผู้เล่น
8. ครูผู้นำควรบอกข้อดีและข้อเสียของกลุ่มชนะและกลุ่มแพ้เพื่อจะปรับปรุงต่อไป
9. ครูผู้นำอาจจะจัดให้มีการเล่นหรือแข่งขันกันใหม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เล่น
การออกแบบเกม/สถานการณ์จำลอง
1. เลือกเนื้อหาและกำหนดขอบเขตของกิจกรรม
2. กำหนดกลุ่มผู้เรียน
3. กำหนดจุดมุ่งหมาย
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมีเจตคติที่ดี
4. พัฒนารูปแบบเกมและสถานการณ์จำลอง
ซึ่งสามารถพัฒนาได้ ดังนี้
4.1 สร้างฉากการแสดง
(สำหรับสถานการณ์จำลอง)
4.2 อธิบายบทบาทการแสดง
4.3 สร้างแรงจูงใจ
4.4
อธิบายข้อจำกัดและแหล่งข้อมูล
4.5 กำหนดกิจกรรม
4.6
กำหนดผลที่จะเกิดขึ้น
5. การพัฒนากฎเกณฑ์
5.1 ขั้นตอนการแสดง
5.2 การให้คะแนน
6.
การพัฒนากิจกรรมและสื่อต้นแบบ
6.1 สื่อสำหรับผู้แสดง
6.2
คูมือครูและผู้กำกับ
6.3 คู่มือแนะนำอื่นๆ
เทคนิค ข้อเสนอแนะต่างๆ
ในการใช้วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ
การเตรียมการ
ผู้สอนเตรียมสถานการณ์จำลองที่จะใช้สอน
โดยอาจสร้างขึ้นเองหรืออาจเลือกสถานการณ์จำลองที่มีผู้สร้างไว้แล้ว
ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด เมื่อมีสถานการณ์จำลองแล้ว
ผู้สอนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจในสถานการณ์จำลองนั้นและควรลงเล่นด้วยตนเอง
เพื่อจะได้ทราบถึงอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ในการเล่น
จะได้จัดเตรียมการป้องกันหรือแก้ไขไว้ให้พร้อม
การนำเสนอสถานการณ์จำลอง เนื่องจากสถานการณ์จำลองส่วนใหญ่
จะมีความซับซ้อนพอสมควรไปถึงระดับมาก การนำเสนอสถานการณ์ บทบาท และกติกา
จำเป็นต้องมีการเตรียมการอย่างดี ควรนำเสนออย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ไม่สับสน
และควรจัดข้อมูลทุกอย่างไว้ให้พร้อม
ควรเริ่มด้วยการบอกเหตุผลและวัตถุประสงค์กว้างๆ แก่ผู้เรียนว่า
การเล่นในสถานการณ์จำลองนี้จะให้อะไรและเหตุใดจึงมาเล่นกัน
ต่อไปจึงค่อยให้ภาพรวมของสถานการณ์จำลองทั้งหม แล้วจึงให้รายละเอียดที่จำเป็น เช่น
กติกา บทบาท เมื่อทุกคนเข้าใจพอสมควรแล้ว จึงให้เล่นได้
การเลือกบทบาท
เมื่อผู้เรียนเข้าใจภาพรวมและกติกาแล้ว ผู้เรียนทุกคนควรได้รับบทบาทในการเล่น
ซึ่งผู้เรียนอาจเป็นผู้เลือกเอง หรือในบางกรณีผู้สอนอาจกำหนดบทบาทให้ผู้เรียน
การเล่นในสถานการณ์จำลอง
ในขณะที่ผู้เรียนกำลังเล่นในสถานการณ์จำลองนั้น ผู้สอนควรติดตามอย่างใกล้ชิด
เพื่อสังเกตพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียนและจดบันทึกข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการการเรียนเรียนรู้ของผู้เรียน
ให้คำปรึกษาตามความจำเป็น รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
การอภิปราย
การอภิปรายควรมุ่งประเด็นไปที่การเรียนรู้ความเป็นจริงว่า ในความเป็นจริง
สถานการณ์เป็นอย่างไรและอะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานการณ์นั้นๆ
ซึ่งผู้เรียนมักได้เรียนรู้จากการเล่นของตนในสถานการณ์นั้น
จึงทำให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริงแล้ว
การอภิปรายขยายต่อไปว่า เราควรจะให้สถานการณ์นั้นคงอยู่ หรือ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองให้มีประสิทธิภาพ
ข้อดี
-เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่มีความสัมพันธ์ซับซ้อนได้อย่างเข้าใจ
เกิดความเข้าใจ เนื่องจากได้มีประสบการณ์ที่เห็นประจักษ์ชัดด้วยตนเอง
-เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมาก
ผู้เรียนได้เรียนอย่างสนุกสนาน การเรียนรู้มีความหมายต่อตัวผู้เรียน
-เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะกระบวนการต่างๆจำนวนมาก
เช่น กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น กระบวนการสื่อสาร กระบวนการตัดสินใจ
กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการคิด เป็นต้น
ข้อจำกัด
-เป็นวิธีสอนที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง
เพราะต้องมีวัสดุ อุปกรณ์ และข้อมูลสำหรับผู้เล่นทุกคน
และสถานการณ์จำลองบางเรื่องมีราคาแพง
-เป็นวิธีสอนที่ใช้เวลามาก
เพราะต้องให้เวลาแก่ผู้เล่นในการเล่นและการอภิปราย
-เป็นวิธีการสอนที่ต้องใช้เวลาในการเตรียมการมาก
ผู้สอนต้องศึกษารายละเอียดและลองเล่นด้วยตนเองและในกรณีที่ต้องสร้างสถานการณ์เอง
ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น
-เป็นวิธีการสอนที่ต้องพึ่งสถานการณ์จำลอง
ถ้าไม่มีสถานการณ์จำลองที่ตรงกับวัถุประสงค์หรือความต้องการ
ผู้สอนต้องสร้างขึ้นเอง ถ้าผู้สอนไม่มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์เพียงพอ
ก็จะไม่สามารถสร้างได้
-เป็นวิธีสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เล่นและแสดงออกอย่างหลากหลาย
จึงเป็นการยากสำหรับผู้สอนในการนำการอภิปรายให้ไปสู่การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ประโยชน์ของเกม
การเล่นเกมนั้นให้ประโยชน์แก่ผู้เล่นหลายด้านด้วยกัน
เช่น
1.
ทางด้านร่างกาย
2. ทางด้านจิตใจ
3. ทางด้านสังคม
4. ทางด้านอารมณ์
ขอบข่ายของเกม
เกมนับว่าเป็นกิกรรมหนึ่งในกิจกรรมทางพลศึกษา
ดังนั้นขอบข่ายของเกมถ้าแบ่งตามลักษณะของการเล่น เราสามารถจัดแบ่งตามลักษณะรูปแบบการเล่นออกได้
3 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ
1. การเล่นที่ใช้ทักษะ
(Motor Skill) หมายถึง
การเล่นที่ต้องอาศัยทักษะของบุคคลความสามารถในการพิจารณาวินิจฉัย ความชำนาญต่าง ๆ
ที่เกิดจากประสบการณ์เดิม ซึ่งต้องเกิดจากความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
แล้วนำมาประยุกต์สู่การปฏิบัติ
2. การเล่นที่ใช้ประสาทสัมผัสต่าง
ๆ (Sensory Perceptual) หมายถึง
การเล่นที่ต้องใช้ประสาทความรู้สึกในการรับรู้ จับต้อง มองดู
หรือความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และแสดงออกอย่างฉับพลัน
ซึ่งเกิดจากความพร้อมและการวินิจฉัยของประสาทรับรู้ แล้วตอบสนองออกมาโดยการปฏิบัติ
3. การเล่นที่ใช้สติปัญญา
(Intellectual) หมายถึง การใช้ความสามารถทางสมอง
ความคิดรวบยอด การแปลความหมายแล้วสรุป เพื่อการแสดงออกตอบโต้ในทันทีทันใด
หรือรับรู้และตอบสนองอย่างฉับพลัน ทั้งการแสดงออกทางด้านความคิด การพูด
หรือการแสดงอาการต่าง ๆ
ประเภทของเกม
เกมนั้นสามารถแบ่งแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ
ตามลักษณะการเล่น อุปกรณ์ วิธีการเล่น หรือรูปแบบการเล่นได้ดังนี้
1. เกมเบ็ดเตล็ด (Low
Organized Games)
2. เกมผาดโผน
และทดสอบสมรรถภาพ (Stunt and Self-testing Activities)
3. เกมเล่นเป็นนิยาย
และสร้างสรรค์ (Story Play and Creative Games)
4. เกมประเภทชิงที่หมายไล่จับ
(Goal Games and Tag Games)
5. เกมประเภทรายบุคคล
และเลียนแบบ (Individual Contest and Imitative Games)
6. เกมแบบหมู่ และผลัด
(Mass Contest and Relay Games)
7. เกมนันทนาการ (Recreation
Games)
8. เกมพื้นบ้าน
เกมประจำชาติ (Native and National Games)
9. เกมนำสู่ทักษะกีฬา (Lead-UP
Games)
หลักทั่วไปในการเป็นผู้นำเกม
ผู้นำเกม (Game Leadership) เกมถือได้ว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของการนันทนาการ
ที่สามารถให้ทั้งความสนุกสนาน ความบันเทิง และคลายความเครียดแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
และเพิ่มความสัมพันธ์อันดีแก่กันในหมู่คณะ
ฉะนั้นย่อมต้องการผู้นำที่มีความสามารถในการเป็นผู้นำทางด้านนี้เช่นกัน
ซึ่งหลักของการเป็นผู้นำทางเกมประกอบด้วยหลักดังต่อไปนี้
1. ผู้นำเกมต้องรู้วิธีเล่น
กฎกติกาเป็นอย่างดีและสามารถพูดเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย
2. พยายามสาธิตให้ผู้เข้าร่วมเล่นเกมดูด้วยตนเอง
หรือสนุกไปกับพวกเขาด้วย
3. ใช้ความสังเกตดู ฟัง
พูดอย่างเป็นกันเอง อย่าตะโกน และพยายามใช้นกหวีดแทน แต่ไม่ใช้บ่อย
เกินไปจะทำให้เกิดความรำคาญ
4. ให้เล่นเกมที่เด็กหรือเยาวชนเคยเล่นมาก่อน
แล้วจึงค่อยนำเกมใหม่มาให้เล่น และต้องเพิ่มเกม
ใหม่ ๆ ทุกครั้ง
5. ต้องเป็นผู้ที่คล่องแคล่ว
(Active) และมีความสนุกสนานไปกับเกมนั้นด้วย
6. ให้มีการแข่งขันระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถเท่าเทียมกัน
หรือผู้หญิงกับผู้ชายเล่นเฉพาะเกม
บางชนิดที่ผู้หญิงสามารถเล่นร่วมกับผู้ชายได้
7. มีการตั้งหัวหน้าให้เป็นผู้ช่วยดูแลร่วมกับผู้นำเกม
ซึ่งไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง
8. ให้เลิกการเล่นขณะที่กำลังสนุกเต็มที่
เพราะจะได้เกิดแรงจูงใจ อยากเล่นในวันข้างหน้า
9. ให้เล่นเกมที่ใช้กำลังกายมาก
และต้องการความคล่องแคล่ว (Active games) เมื่อมีอากาศ
หนาว
อากาศร้อนจัดควรให้เล่นเกมที่ออกกำลังน้อย (Quiet games) เช่น กิจกรรมในร่มงานเย็บปักถักร้อย งานฝีมือ งานอดิเรก เป็นต้น
10. เกมกีฬา
ไม่ใช่ก่อให้เกิดความสนุกสนานและด้านพละกำลังเท่านั้น
ยังมีความสำคัญในการพัฒนานิสัยและฝึกฝนให้เป็นพลเมืองดีของชาติอีกด้วย
11. ช่วยเขาเพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถช่วยตัวเองได้
และต้องสนองความสนใจ ความต้องการของเขาด้วย
12. อย่านำระบบเผด็จการมาใช้ในกิจกรรมเกมการเล่น
แต่เน้นอิสระเสรีเป็นตัวของตัวเองและพยายามเป็นกันเองกับทุกคนที่ร่วมเล่นเกม
13. พยามยามหาโอกาสให้ทุก
ๆ คนได้เข้าร่วมกิจกรรม
14. ให้คำนึงถึงความสนุกสนานเป็นสำคัญ
ไม่ใช่การเอาแพ้เอาชนะ
15. พยายามให้ผู้เล่นเกมเข้าร่วมในกิจกรรมนั้น
ๆ ด้วยตนเอง
16. อย่ายึดถือระเบียบมากเกินไป
แต่ให้ถือว่าน้ำใจที่ได้แสดงออกในการเล่น (Spirit of play)
ลำดับขั้นในการสอนเกม
1. ให้ผู้เข้าร่วมทำการอบอุ่นร่างกาย
(Warm up) เพื่อสร้างความพร้อมทางกาย
2. บอกชื่อเกม
3. จัดรูปแบบของการเล่นเกม
4.
อธิบายวิธีการเล่นพร้อมทั้งการสาธิต
5. ชี้แจงกฎกติกา
ระเบียบการเล่นและการตัดสินใจ
6. ทดลองหรือสาธิตการเล่น
7. ดำเนินการเล่น
8. อภิปราย ทำการสรุป เสนอแนะ
9. สุขปฏิบัติ
ทฤษฎีเกมกับการศึกษา
หากพูดถึงทฤษฎีเกมคนส่วนใหญ่จะนึกถึงทฤษฎีเกมในการนำไปใช้สำหรับสาขาทางเศรษฐศาสตร์
และสาขารัฐศาสตร์กันเป็นส่วนใหญ่
ดังจะเห็นได้จากข่าวการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2548 ให้กับ 2 นักเศรษฐศาสตร์ คือ
Thomas Schelling และ Robert Aumann ซึ่งเป็นผู้นำ
Game Theory มาใช้เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพของความขัดแย้ง
และความร่วมมือ ความสัมพันธ์ขององค์กร และก่อนหน้านี้ในปี 2537 ได้มีการมอบรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ให้กับ John Nash , John
Harsanyi และ Reinhart Selten ที่ได้ศึกษาเรื่องของทฤษฎีเกม(ถ้ายังจำได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่องชีวิตของ
John Nash เรื่อง A Beautiful Mind ผู้คิดค้นทฤษฎี
Nash Equilibrium หรือ จุลสมดุลของแนช)
ทฤษฎีเกมไม่ได้ใช้เฉพาะสาขาเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์เท่านั้น
แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางสาขาสังคมวิทยาอื่นๆ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะการใช้
ทฤษฎีเกมเพื่อประโยชน์ในด้านสาขาการศึกษา ซึ่งการใช้
ทฤษฎีเกมเพื่อการศึกษานั้นมีความแตกต่างจากการประยุกต์ใช้ในสาขาอื่นๆ
ตรงที่ทฤษฎีเกมตามทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์เป็นการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และการคำนวณเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสมในการแสดงพฤติกรรม
หรือนำมาอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์
มองว่ามนุษย์คือผู้ที่อยู่ในเกมและจะตัดสินใจเล่นเกมนั้นอย่างไร
ในขณะที่ทฤษฎีเกมตามทัศนะของนักการศึกษาเป็นการใช้หลักการทางจิตวิทยามาใช้เพื่อสร้างหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นให้กับผู้เรียน
โดยมองว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือมีการเรียนรู้อย่างมีความหมายในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม
โดยไม่ได้เน้นว่าเกมมีทางเลือกอย่างไรหรือควรจะตัดสินใจว่าจะเล่นเกมอย่างไร
แต่เน้นผลที่ได้รับจากการเล่นเกม
เกมในปัจจุบันเป็นเกมในลักษณะเล่นอย่างเดียว
“mere play” คือ วัตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน
สนุกสนานในการเล่นเกมของผู้เล่น
กระบวนการสร้างเกมประเภทนี้ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากหากต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น
แต่เกมเพื่อการศึกษาเป็นเกมที่มีลักษณะการเล่นเพื่อการเรียนรู้ “Play to
Learning” วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในขณะหรือหลังจากการเล่นเกม
เรียนไปด้วยและก็สนุกไปด้วยพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
กระบวนการสร้างเกมเพื่อการศึกษาจำเป็นต้องผ่านการออกแบบลักษณะของเกมโดยยึดตามหลักทฤษฎีต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเกมการศึกษาจึงเป็นเกมที่มีกระบวนการสร้างที่ซับซ้อน และใช้เวลามากในการสร้างและพัฒนาการใช้และการสร้างเกมเพื่อการศึกษาในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายๆกันคือ
การนำเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียน เรียนนำเข้าไปแทรกในเกม
แล้วให้ผู้เรียนได้เล่นเกมโดยเชื่อว่าความรู้หรือเนื้อหานั้นจะส่งผ่านไปยังผู้เรียนจนผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ในที่สุด
โดยรูปแบบเกมที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะคำนึกถึงเฉพาะความสะดวกและความง่ายในการสร้างและพัฒนาเกมเท่านั้น
ทำให้เกมทางการศึกษาจึงมีการสร้างเพียงไม่กี่รูปแบบ
และยังใช้เกมรูปแบบเดียวใช้สอนเนื้อหาที่ต่างกันเพื่อความง่ายและสะดวกในการสร้าง
ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ารูปแบบเกมแบบเดียว สามารถใช้กับเนื้อหาที่แตกต่างกันได้จริงหรือ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกรูปแบบเกมเพื่อนำมาใช้เพื่อการศึกษาจะต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นหลัก
โดยสามารถจำแนกลักษณะของเกมแบ่งจุดประสงค์ของการเรียนรู้กับรูปแบบเกมที่เหมาะสม
ดังนี้ (เกมคอมพิวเตอร์)
1. ความจำ ความคงทนในการจำ
ลักษณะเกมเป็นชุดของเนื้อหาและแบบประเมินหลังจากการอ่านชุดเนื้อหาต่างๆ แล้ว
รูปแบบเกม เช่น เกมแบบฝึกหัด,Quiz, เกม Crossword และเกม puzzles ต่างๆ เป็นต้น
2. ทักษะ การกระทำ
เป็นเกมในลักษณะจำลองสถานการณ์เรื่องราว การกระทำ การเลียนแบบ โดยมีการให้ผลป้อนกลับและมีตัวแปรอื่นๆ
เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เวลา รูปแบบเกม เช่น เกม Simulation ต่างๆ
เช่น เกมยิง, เกมขับรถ เป็นต้น
3. ประยุกต์ความคิดรวบยอดและกฎข้อบังคับต่างๆ
เป็นเกมในลักษณะกฎและขั้นตอนวิธีการในการปฏิบัติ มีเงื่อนไขในการกระทำ เช่น
เกมกีฬาต่างๆ
4. ตัดสินใจ
การแก้ปัญหา ลักษณะเป็นเกมแบบเป็นเรื่องราว สถานการณ์
สามารถแสดงผลการกระทำได้ในทันที Real Time
รูปแบบเกม เช่น เกมวางแผน, เกมผจญภัย
เป็นต้น
5. การอยู่ร่วมกับสังคม
ลักษณะเป็นเกมเกมเกี่ยวกับการสื่อสาร การเล่าเรื่องแล้วมีทางเลือก รูปแบบเกม เช่น
เกมวางแผน, เกมผจญภัย, เกมเล่าเรื่องราวแล้วให้เลือก(เกมภาษา)
เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต่างกัน
เกมที่ใช้ก็แตกต่างกันไปด้วย
ดังนั้นในการเลือกใช้และพัฒนาเกมในอนาคตเราจึงควรคำนึงถึงจุดประสงค์การเรียนรู้ควบคู่ไปกับรูปแบบเกมที่เหมาะสม
เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกไปพร้อมกับการเกิดการเรียนรู้ได้จริง
ทฤษฎีเกมส์ (Game Based Learning)
ทฤษฎีเกม
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจในสถานการณ์หนึ่งๆโดยมีเงื่อนไขที่ผูกอยู่กับการตัดสินใจของผู้อื่นที่ร่วมเล่นเกมอยู่ด้วย
ผู้ที่บุกเบิกทฤษฎีนี้ คือจอน ฟอนน์ นิวแมน และ ออสการ์ มอร์เกินสเติร์น ในปี 1944และ ได้ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอีกครั้งในอีก 50 ปีต่อมา โดย จอห์น เอฟ แนชซึ่งเรื่องของ ศ. จอห์น แนช
นี้ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย ชื่อ A Beautiful Mind นำแสดงโดย
รัสเซลล์ โครว์
อันที่จริงแล้ว
ลักษณะสถานการณ์ของทฤษฎีเกม เป็นสิ่งที่เราเจอะเจออยู่เป็นประจำแทบทุกวัน
เพียงแต่อาจจะไม่ได้คิดแจกแจงออกมาเป็นระบบในรูปแบบที่จะเอื้อให้เราตัดสินใจได้ดีที่สุดในสภาพการณ์นั้นๆ
เรามาเริ่มตั้งแต่พื้นฐานกันก่อนเลยนะครับ เป็นตัวอย่างสุดคลาสสิค ของทฤษฎีเกม ที่ชื่อว่า
ความลำบากใจของนักโทษ (Prisoner’sDilemma) สถานการณ์มีอยู่ว่า
ตำรวจจับผู้ต้องหาได้ 2 คน คือ นาย ก. และ นาย ข.
ผู้ต้องหาสองนายนี้ถูกจับแยกไปสอบปากคำเพื่อไม่ให้ได้ยินคำตอบของอีกคนหนึ่ง
ทางเลือกของแต่ละคน คือ 1.ไม่รับสารภาพ 2. รับสารภาพว่ากระทำผิดร่วมกัน กรณีและผลลัพธ์ทีเกิดขึ้น คือ
1.ถ้าทั้งสองไม่รับสารภาพ
ทางตำรวจจะไม่มีหลักฐานและตั้งข้อหาได้เพียงเล็กน้อยคือ จำคุกคนละ 1 ปี
2. หากคนใดคนหนึ่งรับสารภาพและอีกคนไม่รับสารภาพ
คนที่รับสารภาพจะไม่ต้องรับโทษและถูกกันตัวเป็นพยาน ส่วนคนที่ไม่รับจะโดนโทษจำคุก 10 ปี
3. หากทั้งคู่รับสารภาพ
ศาลจะลดโทษให้ครึ่งหนึ่งเหลือจำคุกคนละ 5 ปี
Game Based Learning คือสื่อในการเรียนรู้รูปแบบหนึ่ง
ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อมๆกับการได้รับความรู้
โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนั้นๆเอาไว้ในเกมส์
และให้ผู้เรียนลงมือเล่นเกมส์
โดยที่ผู้เรียนจะได้รับความรู้ต่างๆของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกมส์นั้นไปด้วย Game
Based Learning เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ทั้งในระดับความจำและความเข้าใจ
นอกจากนี้ Game BasedLearning ยังเป็นที่น่าสนใจสามารถสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ได้
สร้างความรู้สึกสนุกสนานให้แก่ผู้เรียน และชักจูงให้ผู้เรียมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้จนกระทั่งเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
ผลการวิจัยนี้เหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้กับการฝึกอบรมรูปแบบเดิมๆได้
เช่นวิชาใดเป็นวิชาที่ยาก ข้อมูลเยอะ ผู้เรียนไม่ค่อยอยากเรียนวิชานี้
นักฝึกอบรมหรือผู้ออกแบบการเรียนรู้สามารถนำเอาเนื้อหาเหล่านั้นมาดัดแปลงเป็นเกมส์
เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ และง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น
แต่การออกแบบหลักสูตรในลักษณะแบบ Game Based Learning นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
ควรต้องออกแบบอย่างระมัดระวัง
และควรนำเกมส์ที่ออกแบบมาทดลองใช้หลายๆครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเกมส์นั้นยังคงเนื้อหาที่สำคัญทั้งหมด
และสร้างความสนุกสนาน และสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่ผู้เรียนได้
Game Based Learning ถือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในการจัดหลักสูตรและกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
เพื่อให้บุคลากรในองค์กรไม่ปฏิเสธการเรียนรู้ ทำให้บุคลากรเองมีการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ
และนอกจากนี้ Game Based Learning ยังช่วยเหลือในเรื่องของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนอีกด้วยเป็นผลให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างบุคคลากรในองค์กรเดียวกัน
ช่วยเหลือซึ่งกันในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นประโยชน์กับองค์กรในที่สุด
Game-Based Learning (เกมการศึกษา)
ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่
กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่า การใช้เทคโนโลยี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจและส่งผล
ต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ปัจจุบันเกิดแนวคิดในการทำให้การเรียนการสอนมีความสนุกสนานและดึงดูดความ
สนใจของผู้เรียน
โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกม (Games Based Learning) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา
ที่นำเอาความสนุกสนานของเกม และเนื้อหาบทเรียนวิชาต่างๆ มาผสมผสาน และ
ออกแบบให้อยู่ในรูปแบบใหม่เข้าด้วยกัน
ทำให้ผู้เรียนได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินไปพร้อมๆกัน
โดยเฉพาะในลักษณะของเกมจำลองสถานการณ์
ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน
ทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ และมีความท้าทาย
การ เรียนรู้ผ่านเกม (Game-based learning) ถือเป็น e-learning
อีกรูปแบบหนึ่งที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง
(engage learners with their own learning) บนพื้นฐานแนวคิดที่จะทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกตามแนวคิด
Edutainment โดยเกมประเภท MMORPG (Massive
Multiplayer online Role-playing Game) นั้น
เป็นเกมประเภทที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
ลักษณะเด่นของเกมดังกล่าวนั้นจะเป็นโลกเสมือนที่ให้ผู้เล่นสามารถเข้าไปเล่น
พร้อมกันได้หลายคนและมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในเกม
จากรูปแบบเกมนี้เองจึงเหมาะสมสำหรับการนำมาสร้างเป็นเกมเพื่อการเรียนรู้
Games Based Learning หรือ
GBL คืออะไร
รศ.ดร.ประหยัด จิระวรพงศ์ ได้กล่าวว่าเกมการณ์เรียนรู้ (GBL: Games- Based Learning)เป็นสื่อในการเรียนรู้แบบหนึ่ง
ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความสนุกสนานไปพร้อมๆ กับการได้รับความรู้ โดยสอดแทรกเนื้อหาทั้งหมดของหลักสูตรนั้นๆ
เอาไว้ในเกมและให้ผู้เรียนลงมือเล่นเกมโดยที่ผู้เรียน จะได้รับความรู้ต่างๆ
ของหลักสูตรนั้นผ่านการเล่นเกมนั้นด้วย เช่นเดียวกับ และรศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสงได้กล่าวว่า Games Based Learning ถือเป็น e-learning อีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียนเอง
บนพื้นฐานแนวคิดที่จะทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่สนุกสนาน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า (Game-Based Learning หรือ GBL) เป็นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ออกแบบและสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนลงไปในเกม
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ลงมือเล่นและฝึกปฏิบัติในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยในขณะที่ลงมือเล่นผู้เรียนจะได้รับทักษะ
และความรู้จากเนื้อหาบทเรียนไปด้วยขณะที่เล่น
เกมมักมีสถานการณ์จำลองเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกท้าทายและอยากที่จะเล่น
องค์ประกอบของเกม (Game-Based Learning หรือ GBL)
เกมมักจะมีองค์ประกอบแฟนตาซีที่ประกอบผู้เล่นในการเรียนรู้ในกิจกรรมที่ผ่านการเล่าเรื่องหรือตุ๊กตุ่น
ตุ๊กตา Educational video games can be motivating to children and allow
them to develop an awareness to consequentiality. Children are allowed to express themselves as
individuals while learning and engaging in social issues.วิดีโอเกมการศึกษาที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
การเรียนรู้ผ่านเกม(Game-Based Learning หรือ GBL)
ในต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจในวงการศึกษาไทยในการที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
การเรียนรู้ผ่านเกม (กรมวิชาการ) ได้แสดงบทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ว่า
เราสามารถนำทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์
วิธีการ ตลอดจน คน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ
รวมถึงเหตุการณ์หรือแนวคิดอาจอยู่ในลักษณะที่ถ่ายทอด ความรู้ ความเข้าใจ
ความรู้สึก เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์
หรือเป็นเครื่องมือที่กระตุ้นให้เกิดศักยภาพทางความคิด
ตลอดจนสิ่งที่กระตุ้นให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based Learning หรือ GBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน
เป็นเพราะการที่ผู้เรียนเกิดมาในยุคที่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
ต่างๆและเครื่องมือสื่อสารที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง จึงมีผลทำให้ ความชอบ ความถนัด
และความสนใจของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนรู้และการที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ เช่นเดียวกับคำกล่าวของ (รศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง และ ณฐนันท์ กาญจนคูหา) ว่าจากความนิยมในการเล่นเกมดิจิตัลนานาชนิด
ตั้งแต่ เกมบนมือถือ บนเครื่องมือสร้างเครือข่ายทางสังคม(Social Networking
Tools) เรื่อยไปจนถึง เกมออนไลน์สามมิติ
จึงทำให้การเรียนรู้ผ่านเกมดิจิตัลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวตัวผู้เรียนอีกต่อไป นอกจากนี้การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based
Learning หรือ GBL) ยังเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ได้นำเอาความสนุกสนานของเกมได้
และเกมออกแบบให้อยู่ในรูปแบบใหม่ผสมผสานเนื้อหาบทเรียนวิชาต่างๆเข้าด้วยกัน
ทำให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินมีความสุขกับการเรียนรู้ และได้รับความรู้ไปด้วย
โดยเฉพาะเกมที่มีสถานการณ์จำลองมีความสนุกสนานเพลิดเพลินและมีความท้าทายทำให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ
การนำ(Game-Based
Learning หรือ GBL) ไปใช้ในการเรียนการสอน
ปัจจุบันการเรียนการสอนที่นำเทคโนโลยีประเภทเกม
(Game-Based Learning ) มาใช้ในการเรียนการสอนในต่างประเทศนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่
แต่สำหรับในเมืองไทย การนำเทคโนโลยีประเภทเกม(Game-Based Learning ) มาใช้ในการเรียนการสอน กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เช่นเดียวกับแนวคิดของ (รศ.ดร.ถนอมพร
เลาหจรัสแสง) ได้กล่าวในบทความ 10 ปี มช.
มุ่งพัฒนาระบบการเรียนจาก E-Learning สู่ U-Learning ว่าควรมีการใช้นวัตกรรมด้านวิธีการสอน (pedagogy) เช่น
การเรียนผ่านเกม (Game-Based Learning) ที่ไปด้วยกันกับอุปกรณ์
และเทคโนโลยีการสอนใหม่ รวมทั้ง การใช้สื่อใหม่รูปแบบต่างๆ
เพื่อให้การพัฒนาการในด้าน e-Learning
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
ทันสมัย แปลกใหม่ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
เกมออนไลน์ที่ทางสำนักบริการเทคโนโลยีสาระสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้พัฒนา
ชื่อว่า “Eternal Story เรื่องเล่าขานนิรันดร์” ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้
Game-Based Learning ต้นแบบสำหรับการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา
โดยบูรณาการเทคโนโลยีประเภทเกม 3 มิติ ลักษณะ MMORPG
(Massive Multiplayer Online Role-Playing Game) กับเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเบื้องต้นสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
มาพัฒนาเป็นงานประดิษฐ์ต้นแบบที่ได้รับการนำไปถ่ายทอดให้กับคณาจารย์ ครูผู้สอน
นักวิจัย นักพัฒนาเกม และ ผู้สนใจในการใช้เทคโนโลยีเกมในชั้นเรียน
ให้ได้รับแนวคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น
สามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับ Engine
ไปใช้ต่อยอดในการสร้างเกมในลักษณะเดียวกันในรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาอื่นๆ
นอกจากนี้ คณาจารย์
ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานระดับอุดมศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนต่อไปได้
ผลสำเร็จของการเรียนรู้ผ่านเกม
มีงานวิจั
เอกสารทางวิชาการและบทความทางการศึกษาในช่วง 5-10 ที่ผ่านมาซึ่งสนับสนุนข้อได้เปรียบของการเรียนรู้ผ่านเกมดิจิตัล
ทั้งในด้านผลการเรียนรู้ เจตคติ รวมทั้งพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย
(ถนอมพร เลาหจรัสแสง และ อุไรวรรณ หาญวงค์, 2553; Peterson,M., 2010)
จากผลการศึกษา เรื่อง
ผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้แบบ Game Based
Learning (สกุล สุขศิริ:บทคัดย่อ)พบว่าการใช้ Game Based
Learning เป็นสื่อในการเรียนรู้นั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าทั้งระดับความจำและความเข้าใจ
และรูปแบบของ Game Based Learning สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ด้วยตัวเอง กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
และทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน เพราะฉะนั้นเราสามารถที่จะใช้ Game Based
Learning ไปแทนที่การฝึกอบรมรูปแบบเดิม ๆ ได้ ผลสำเร็จของการใช้การเรียนรู้ผ่านเกม (Game
Based Learning )ที่มีลักษณะผู้เรียนเป็นศูนย์กลางระดับอุดมศึกษา (รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง และ ณฐนันท์ กาญจนคูหา) พบว่า การเรียนรู้ผ่านเกม
หรือ GBL สามารถส่งผลต่อผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เจตคติ และ
พฤติกรรม ด้านบวกที่เกี่ยวข้องกับการเรียนของผู้เรียน
นอกจากนี้การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียนแสดงให้เห็นว่า
ผู้เรียนไม่ได้สนใจเพียงแค่การเล่นเกมแต่ยังมีความสนใจในการเรียนผ่านการทำแบบทดสอบภาษาอังกฤษภายในเกมด้วย
มีงานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวมาข้างต้นสนับสนุนแนวคิดว่า
การนำเทคโนโลยีมาใช้ โดยเฉพาะ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน หรือ
เทคโนโลยีประเภทเกม (Game-Based Learning) กับการเรียนการสอนให้สนุกสนานและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ มีผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
และเป็นการสร้างเจตคติ รวมทั้งพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย
ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปสำหรับผู้เรียน ดังนั้น (Game-Based
Learning) จึงเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่ทุกคนควรให้ความสนใจและไม่ควรมองข้าม
เพราะเป็นเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาให้การศึกษาไทยก้าวหน้าขึ้นไปเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
และพัฒนาการศึกษาไทยให้ทัดเทียมกับต่างปะเทศ
ลักษณะของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรมที่ดี
- เน้นศูนย์กลางการเรียนเป็นกลุ่มสำหรับผู้รับการฝึกอบรม
- มีการแสดงออกอย่างทั่วถึงทุกคนมีส่วนร่วมในเกม
- สร้างบรรยากาศความเป็นกันเองและให้เกียรติผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ได้สาระความรู้และความสนุกเพลิดเพลิน
- มีสถานการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์
- มีความหลากหลายในรูบแบบของเกม
- เป็นเกมที่สร้างความท้าทายและกระตุ้นให้ผู้รับการฝึกอบรมอยากเข้าร่วมเล่น
รูปแบบของเกมที่ใช้ในการฝึกอบรม แบ่งออกเป็น
5 ประเภท
1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างผู้รับการฝึกอบรมเกมจะช่วยอ่นเครื่องและสร้างบรรยากาศแห่งการเปิดเผยตัวเองให้ผู้อื่นรู้จักและเป็นประโยชน์ในการฝึกอบรม
2. กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้
เป็นการเน้นสาระรวบยอด
เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทัศนคติ ความเข้าใจ
และก่อให้เกิดทักษะใหม่ๆเพื่อนำไปใช้ในการทำงาน
3. กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ
เป็นการเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกสนาน
ร่าเริง เพื่อให้คลายจากความตึงเครียด
ทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้รับฝึกการอบรมให้มากยิ่งขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมจัดขึ้นในการรวมกลุ่ม
หรืองานพบปะสังสรรค์
4.
กิจกรรมเข้าจังหวะ
เป็นกิจกรรมที่ร่างกายตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะที่ใช้ประกอบ
ได้แก่ เสียงเพลง ตีกลอง
การเคาะไม้
ฉิ่งฉาบ
5. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ
เป็นการเล่นผาดโผนเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านร่างกายให้มีความแข็งแรงส่งเสริมการเจรฺญเติบโตของกล้ามเนื้อหลักในการเคลื่อนไหวและความยืดหยุ่นของข้อต่างๆในร่างกายนอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังเป็นการวัดสมรรถภาพของร่างกายไปในตัว
บทบาทของผู้นำเกม
ผู้นำเกมหรือวิทยากรในการฝึกอบรมไม่ว่าจะเป็น
กิจกรรมละลายพฤติกรรม ,กิจกรรมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้
, กิจกรรมสันทนาการหรอนันทนาการ ,กิจกรรมเข้าจังหวะและกิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ
สรุปคือ การดำเนินการกิจกรรมก่อน
ระหว่างหรือภายหลังการฝึกอบรมจะมีวัตถุประสงค์หลายอย่างในบางครั้งเพื่อวัตถุประสงค์การเรียนรู้ผู้นำเกมต้องทำหน้าที่โดยมีบทบาทต่างๆที่หลากหลายโดยมีรายละเอียดดังนี้
บทบาทหลักของผู้นำเกม
-เป็นผู้สอน คือ
เป็นผู้สอนให้ความรู้ผู้เข้ารับการอบรมให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และให้ตัวผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลาง
-เป็นผู้ฝึกหัด คือ เป็นผู้ฝึกหัดหรือคอยกำกับให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความสามารถในการพัฒนาให้มีความเข้าใจและความสามารถในงาน
กับตนเองเละคนรอบข้าง
-เป็นพี่เลี้ยง คือ
เป็นที่ปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาในเกมและกิจกรรม
-เป็นผู้นำคือ
เป็นตัวอย่างและแบบอย่างให้กับผู้เล่นเกมและกิจกรรมและนำไปคิดประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
บทบาทของผู้นำเกม
o เป็นผู้ชี้นำให้เล่น หลังจากแจ้งกติกาแล้วโดยอาจมีการลองเล่นดูก่อนก่อนมีการแข่งขันจริงเพราะบางเกมผู้เล่นต้องมีการตีความจากคำสั่งในการเล่น
o มีเทคนิคในการจับผิดหรือการลักไก่ของผู้เล่นหูไวตาไว
และมีเทคนิคการยืนในระยะที่เหมาะสมในการตรวจสอบ
o กำหนดกฎกติกา
ให้มีความชัดเจนในการพูดการสื่อสารในกลุ่มที่เล่นกิจกรรม
เช่นไม่ลืมที่จะให้แต่ละกลุ่มแจ้ง ชื่อทีม คำขวัญ และอุปกรณ์ประจำทีม
o ตัดสินชี้ขาดที่ยุติธรรมในการตัดสิน
โดยที่ให้ผู้เล่นรู้สึกว่าลำเอียง
o มีเทคนิคในการควบคุมเกมและควบคุมเวลาที่ใช้ในการเล่นเกม
o รู้จักการแก้ไขปัญหาในขณะดำเนินเกม
o ไม่ลืมประเมินหรือสังเกตพฤติกรรมในตอนเริ่มต้นจนถึงเวลาสิ้นสุดกิจกรรม
หน้าที่ของผู้นำเกม
หน้าที่ของผู้นำเกม
คือการดำเนินการเพื่อเปลี่ยนแปลงบุคลิคของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจและสามารถโดยจะต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมโดยมีการเตรียมสื่อ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกมให้อยู่ในสภาพที่ดีและพร้อมที่จะใช้งานได้
และจะต้องมีความเป็นมิตร และเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมเล่นเกมตั้งแต่ต้นจนจบ
มีความสามารถในการพูด สื่อสาร มีการพูดที่น่าสนใจมีการอธิบายให้ชัดเจนเข้าใจง่ายและมีความยุติธรรมในการตัดสินและให้คะแนนโดยไม่อคิ
เพราะรัก เกลียด
หรือโกรธก็ตามโดยให้ความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ที่เล่นเกมทุกคนและใช้เวลาในการใช้เวลาได้อย่างเหมาะสมในการเล่นเกมไม่นานหรือช้าเกินไปและสุดท้ายเมื่อจบการแข่งขันแล้วมีการสรุปจบประทับใจ
อาจใช้คำคม เพลง คำขวัญในการสรุปจุดมุ่งหมายของเกม
การเตรียมการก่อนเล่นเกม
· วิเคราะห์กลุ่ม คือ
ดูข้อมูลของผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน อายุ เพศ การศึกษา ประสบการณ์
· ขนาดกลุ่ม คือ
การแบ่งจำนวนผู้เข้ากิจกรรม
· สถานที่ คือ
การจัดเกมให้เหมาะสมกับสถานที่และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
· สื่อ/เครื่องมือที่พื้นที่ สถานที่ที่ใช้ในการเล่นเกมและอุปกรณ์สำหรับเล่นเกม
· การวางแผนแล่นเกม คือ
เกมนั้นมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ
· เตรียมอุปกรณ์เกม เอกสาร
รางวัล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทำกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์
· เตรียมผู้ช่วยและเกมสำรอง
เพราะกิจกรรมบางกิจกรรมต้องมีการสาธิตจึงต้องมีผู้ช่วยและมีเกมสำรองเผื่อเอาไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น