หน่วยที่ 4

หน่งยที่ 4    จิตวิทยาการเรียนการสอน

จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology   มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา 
จิตวิทยาเป็น การเรียนรู้  (Learning) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์  พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ 
พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
       พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
 แนวทางในการศึกษา
      นักเรียนศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลองนำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษาศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของ
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
       -  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
       -  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
       -  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
       -  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
       -  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
       -  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
       -  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน (สุวรี, 2535)        
 วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
       1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
       2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
 ประโยชน์ของการศึกษาจิตวิทยา
    1. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน  
    2. มีความรู้เกี่ยวกับการเล่นของเด็กและการกีฬา  
    3. จิตวิทยาช่วยให้การดำเนินชีวิตในสังคมเป็นไปโดยสะดวกและราบรื่น   ตามหลักจิตวิทยามีสิ่งสำคัญอยู่  3 ประการในเรื่องการปรับปรุงตัวเองให้เหมาะกับสังคม  
1)  ความรู้ในเรื่องมรรยาทและเรื่องจารีตประเพณี  
 2)  ความรู้สำหรับทำตัวให้สนใจผู้อื่น 
 3)  นิสัยที่จะคอยตรวจพิจารณา  และตีความพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของผู้อื่น  
     4. การรักษาพยาบาลต้องอาศัยจิตวิทยา    
     5. จิตวิทยาช่วยเกี่ยวกับกฏหมายในเรื่องการสืบพยาน  
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
   พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษาซึ่งกำหนดโดย บลูม และคณะ (Bloom and Others ) มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน  3  ด้าน    ดังนี้
    1.  ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain
  2 .  ด้านเจตพิสัย (Affective Domain
   3.  ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
    ดอลลาร์ด และมิลเลอร์  (Dallard and Miller) เสนอว่าการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ
 1. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล   
2.  สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ  
3.  การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.  การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
ธรรมชาติของการเรียนรู้     การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
    1.  การเรียนรู้เป็นกระบวนการ  การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ
 1. มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
2.  บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง 5
 3.  บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
4. บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
5.  บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
     2.  การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ  วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ 
    3.  การเรียนรู้เกิดได้ง่าย ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน  การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
   4.  การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน   ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน  มีความสามารถในการเรียนต่างกัน  มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน 
การถ่ายโยงการเรียนรู้
    การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer
            การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive Transfer) คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น   การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก มักเกิดจาก
            ๑.  เมื่องานหนึ่ง มีความคล้ายคลึงกับอีกงานหนึ่ง  และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้งานแรกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว
            ๒.  เมื่อผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง
            ๓.  เมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะนำผลการเรียนรู้จากงานหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเรียนรู้อีกงานหนึ่ง  และสามารถจำวิธีเรียนหรือผลของการเรียนรู้งานแรกได้อย่างแม่นยำ
            ๔.  เมื่อผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  โดยชอบที่จะนำความรู้ต่างๆ ที่เคยเรียนรู้มาก่อนมาลองคิดทดลองจนเกิดความรู้ใหม่ๆ
            การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer) คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง  หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร  การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒ แบบ คือ
            ๑.  แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)  ผลของการเรียนรู้งานแรกไปขัดขวางการเรียนรู้งานที่ ๒
           ๒.  แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition)  ผลการเรียนรู้งานที่ ๒ ทำให้การเรียนรู้งานแรกน้อยลง การเกิดการเรียนรู้ทางลบมักเกิดจาก
การนำความรู้ไปใช้
 1.  ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่  ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
 2.  พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
3.  ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
4.  ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
5.  พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
            ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะต้องประกอบด้วยปัจจัย  3  ประการ  คือ
            1.   มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน   ถาวร
            2.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ  เท่านั้น
            3.  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้  ความเข้าใจ  ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้   (Theory of Learning)
     ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก  เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ  วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และพฤติกรรมของมนุษย์ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ  แบ่งออกได้  ๒  กลุ่มใหญ่ๆ     คือ
            ๑.   ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
            ๒.   ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
      ทฤษฎีการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนอง ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า "พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism)  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้
            ๑.   ทฤษฎีการวางเงื่อนไข   (Conditioning Theories)
                 ๑.๑   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค  (Classical Conditioning Theories)
                 ๑.๒   ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
            ๒.   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง  (Connectionism Theories)
                 ๒.๑   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง    (Connectionism Theory)   
                 ๒.๒   ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง     (S-R Contiguity Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
     อธิบายถึงการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับการ ตอบสนอง พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องอารมณ์ ความรู้สึก
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.   ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์  ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ 
๒.   ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.   ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว  ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด  และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการวางเขื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner's Operant Conditioning Theory)
            สกินเนอร์ได้แบ่ง  พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ ๒  แบบ  คือ
            ๑.   Respondent Behavior พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ   หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน  (Reflex)  ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ 
            ๒.   Operant Behavior พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด  หรือเลือกที่จะแสดงออกมา   ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน      
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
            ๑.   การเสริมแรง   และ   การลงโทษ
๒.  การปรับพฤติกรรม   และ  การแต่งพฤติกรรม
๓.  การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
การเสริมแรงและการลงโทษ
            การเสริมแรง (Reinforcement)  คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมี  ๒  ทาง ได้แก่
         ๑.   การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement )
        ๒.   การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement
            การลงโทษ  (Punishment) คือ  การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง    การลงโทษมี  ๒  ทาง   ได้แก่
๑.   การลงโทษทางบวก (Positive Punishment)
๒.   การลงโทษทางลบ (Negative Punishment)
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่องของกัทรี  (Guthrie's Contiguity Theory)
        Edwin R. Guthrie   นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน  เป็นผู้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของความใกล้ชิดต่อเนื่องระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง  ถ้ามีการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นเพียงครั้งเดียวก็สามารถเกิดการเรียนรู้ได้  (One Trial Learning ) เช่น ประสบการณ์ชีวิตที่วิกฤตหรือรุนแรงบางอย่าง 
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ 
      ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง   นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า  พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง   ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight)  คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ยังแบ่งย่อยได้อีกดังนี้
     1.ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์   (Gestalt's  Theory)
      มีความสนใจเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception ) การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่  นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ปัญหา (Insight) องค์ประกอบของการเรียนรู้  มี   ๒  ส่วน   คือ
๑.   การรับรู้  (Perception)  เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน
๒.   การหยั่งเห็น (Insight) เป็นการรู้แจ้ง เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้
    2.ทฤษฎีสนามของเลวิน   (Lewin's Field Theory)                                                                         
         มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้เช่นเดียวกับกลุ่มเกสตัลท์  ที่ว่าการเรียนรู้  เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการรับรู้  เขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์แสดงออกมาอย่างมีพลังและทิศทาง  (Field of Force)   สิ่งที่อยู่ในความสนใจและต้องการจะมีพลังเป็นบวก  ซึ่งเขาเรียกว่า Life space   สิ่งใดที่อยู่นอกเหนือความสนใจจะมีพลังเป็นลบ Lewin  กำหนดว่า  สิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์    จะมี  ๒  ชนิด  คือ
๑.    สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical   environment)
๒.    สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา  (Psychological environment
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้  ความเข้าใจ  ไปประยุกต์ใช้
        ๑.   ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น
      ๒.   เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้น
       ๓.   การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
       ๔.   คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน 
       ๕.   บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด  จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
      การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
1. ทฤษฎีเกสตอลท์(Gestalt’s Theory)
2. ทฤษฎีสนาม (Field Theory)
3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory)
4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)
5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning)

ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's Connectionism Theory)
     เขาเชื่อว่า "คนเราจะเลือกทำในสิ่งก่อให้เกิดความพึงพอใจและจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ไม่พึงพอใจ" จากการทดลองกับแมวเขาสรุปหลักการเรียนรู้ได้ว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาสิ่งมีชีวิตจะเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error) นอกจากนี้เขายังให้ความสำคัญกับการเสริมแรงว่าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์
กฎแห่งผล (Law of Effect)
กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
 จิตวิทยาที่ใช้ในการเรียนการสอน   จากการเรียนการสอน คุณครูมีการใช้หลักจิตวิทยาในการสอน คือ
       1. ครูมีการสังเกตพฤติกรรม หรือสำรวจความพร้อม หรือการสร้างความพร้อมทางการเรียนให้กับนักเรียนก่อนการเรียนเสมอ 
       2. สำหรับในการจัดการเรียนการสอนของครู ครูได้นำสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช และ สัตว์ มาให้นักเรียนได้สังเกตจริงๆ ในห้อง ดังนั้นจึงเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียน และสร้างความอยากรู้ อยากทดลองให้กับนักเรียนมากขึ้น
        3. ครูให้นักเรียนได้แสดงบทบาทสมมติของนักเรียน โดยครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น  ดังนั้นครูจึงเป็นผู้ส่งเสริมให้นักเรียน กล้าคิด กล้าทำ มีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออกมากขึ้น
       4. บรรยากาศของห้องเรียน มีความเป็นกันเอง ไม่ตึงเครียด บุคลิกภาพของครูดูอบอุ่น ใจดี ให้ความเป็นกันเองกับนักเรียน  ลักษณะการพูด  น้ำเสียงพูดนิ่มนวล โดยครูจะแทนนักเรียนว่าลูก จึงทำให้นักเรียนเกิดความสนิทสนมกับครูมากขึ้น 
       5.  ห้องเรียนที่คุณครูสอนมีการจัดป้ายนิเทศ  และจัดห้องเรียนสวยงาม เพราะฉะนั้นจึงเป็นตัวส่งเสริมให้บรรยากาศของชั้นเรียนดีขึ้นด้วย
จิตวิทยากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ
             1) จิตวิทยาพัฒนาการ
            2) จิตวิทยาการเรียนรู้
 ปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยา
      ปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ ได้แก่ ปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งมีปัจจัยย่อยอยู่หลายปัจจัย ปัจจัยทางจิตวิทยา จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าก่อนที่ร่างกายจะแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญ ประกอบด้วย แรงจูงใจและ การเรียนรู้
1. แรงจูงใจ แรงผลักดันจากภายในที่ทำให้ให้มนุษย์เกิดพฤติกรรมตอบสนองอย่างมีทิศทางและ เป้าหมาย เรียกว่า  ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในมนุษย์ ประกอบด้วย
1. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ อาหาร น้ำ ความปลอดภัย
2. ปัจจัยทางอารมณ์ เช่น ความตื่นเต้น วิตกกังวล กลัว โกรธ รัก
3. ปัจจัยทางความคิด
4. ปัจจัยทางสังคม
ทฤษฎีแรงจูงใจ
     นักจิตวิทยาได้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายถึงแรงจูงใจของมนุษย์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปรากฏ แต่ละทฤษฎีมีจุดที่เป็น ความแนวคิด เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญได้แก่
      1. ทฤษฎีสัญชาติญาณ (Instinct Theory) สัญชาติญาณ เป็น พฤติกรรมที่มนุษย์ แสดงออกโดยอัตโนมัติ ตามธรรมชาติของชีวิต เป็นความพร้อม ที่จะทำ พฤติกรรม ได้ในทันที เมื่อปรากฎ สิ่งเร้า เฉพาะต่อพฤติกรรมนั้น
     2. ทฤษฎีแรงขับ (Drive Reduction Theory) แรงขับ (Drive) เป็นกลไกภายในที่รักษาระบบทางสรีระ ให้คงสภาพสมดุลในเรื่องต่าง ๆ ไว้ เพื่อทำให้ร่างกายเป็นปกติ หรืออยู่ในสภาพ โฮมิโอสแตซิส (Homeostasis) โดยการปรับระบบให้เข้ากับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทฤษฎีแรงขับอธิบายว่า เมื่อเสียสมดุลในระบบ โฮมิโอสแตซิส จะทำให้เกิดความต้องการ (Need) ขึ้น เป็นความต้องการทางชีวภาพเพื่อรักษาความคงอยู่ของชีวิต และความต้องการนี้ จะทำให้เกิด แรงขับ อีกต่อหนึ่ง แรงขับ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) และ แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive)
     3. ทฤษฎีการตื่นตัว (Arousal Theory) การตื่นตัวคือ ระดับการทำงานที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ระบบของร่างกาย สามารถวัดระดับการทำงานนี้ได้จากคลื่นสมอง การเต้นของหัวใจ การเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือจากสภาวะของอวัยวะต่าง ๆ ขณะที่หลับสนิทระดับการตื่นตัวจะต่ำที่สุด และสูงสุดเมื่อตกใจหรือตื่นเต้นสุดขีด การตื่นตัวเพิ่มขึ้นได้จากความหิว กระหายน้ำหรือแรงขับทางชีวภาพอื่น ๆ หรือจากสิ่งเร้าที่เข้มข้น รุนแรง เหตุการณ์ไม่คาดหวังไว้ก่อน หรือจากสารกระตุ้นในกาแฟ และยาบางชนิด
    4. ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory) ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ (Positive Incentives  แนวความคิดของการจูงใจมีได้หลายแง่หลายมุม ดังนั้นจึงมีทฤษฎีต่างๆ ที่พยายามอธิบายสภาวะ ของอินทรีย์เช่นนี้และ พอจะแบ่งออกได้เป็น
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับสมดุลยภาพและแรงขับ (Homeostasis and drive theory)
2. ทฤษฎีของความต้องการและแรงขับ (Theory of needs and drives)
3. ทฤษฎีเกี่ยวกับเหตุกระตุ้นใจ (Incentive theory)
4. ทฤษฎีเกี่ยวกับสัญชาตญาณ (Instinct theory)
5. ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตไร้สำนึก (Theory of unconscious motivation)
6. ทฤษฎีเกี่ยวกับการรู้ (Cognitive theory)
7. ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิญญาณ (Spiritual theory)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น